แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำเว่าเล่าไว้ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ คำเว่าเล่าไว้ แสดงบทความทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566

ย้อมใจ


หากฉันพร้อม

จะไปหา
จะไปสู้หน้า
จะไปทวงสัญญาสักนิด
จะไปสบตาอีกสักครั้งสักคราหนึ่ง
จักไปแจงความจริงให้กระจ่างคืนเดือนเพ็ญ
จักไปยืนยันความบริสุทธิ์ขาวนวลดอกพะยอม
จักไปขอฟังสร้อยคำจาแสนคุ้นอุ่นทรวง
จักไปแม้สังขารจะโรยล้าใกล้ลา
จักไปแม้ไม่อาจหวังวาดใด
จักไปแม้มีเวลาสักนิด
สักนิดสักหน่อย
ก็จักไป

ขอหาสิ่งย้อมใจได้ก่อน
จะไปแน่ จักไปแท้
หากฉันพร้อม
วันนี้!

---
ทิ ทางหอม
อัง.28.03.2023/2566


วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566

พวมแล้ว



ทำงาน ทำงาน ทำงาน

บ้างทำตั้งแต่ตื่นนอนจนหลับพับ
บ้างทำไปยิ้มไป
บ้างทำไปบ่นไป
บ้างทำแล้วทำเล่า
บ้างทำมากขึ้น ๆ ๆ
บ้างทำน้อยลง ๆ ๆ
บ้างทำ ๆ หยุด ๆ
บ้างทำเมื่อขยัน
บ้างแม้ขี้เกียจก็ทำไป
บ้างทำงานใหญ่ ๆ
บ้างทำงานสมฐานะหน้าที่ดี
บ้างทำเท่าที่มีแรงพอทำได้
บ้างทำไปเป็นปีเป็นชาติ
บ้างทำไปจนตาย

ส่วนที่ทำงานเป็นอย่าง ๆ 
ใช้เวลาทำมาระยะหนึ่ง
เพิ่งทำเสร็จพอดี
อาจกล่าวเป็นคำลาวเฮาได้ว่า
"พวมแล้ว"

---
ทิ ทางหอม
ศ.24.03.2023/2566

นิยายคีง ๆ



ชีวิตคนเรา
มีนิยายหลากหลายเรื่อง
เรื่องหลักคือนิยายชีวิตเราเอง
เรื่องอื่น ๆ รายล้อม 
คือนิยายชีวิตคนรอบข้าง
อาจลามไปถึงคนที่เพิ่งรู้จัก

นิยายชีวิตคนอื่น ๆ
หมายถึงเอาชีวิตคนนั้น ๆ 
เป็นแกนกลางในการเล่าเรื่อง
เอาชีวิตเราเข้าไปทาบทา
บางส่วนเท่านั้นที่มีชีวิตเราเข้าไปเอี่ยว

ส่วนนิยายที่เอาชีวิตเราเป็นแกนกลาง
หรือนิยายชีวิตคนอื่นใด
ที่เอาไปคลุกเคล้าจนเกินครึ่งเรื่อง
อาจเรียกนิยายเรื่องนั้น ๆ ได้ว่า
"นิยายคีง ๆ"

---
ทิ ทางหอม
พฤ. 23 มีนา 2566/2023


วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

คำเว่าเล่าไว้ : เล่าไว้ว่าด้วยถ้อยคำภาษาที่เพื่อน ๆ อาจหลงลืมกัน

 #คำเว่าเล่าไว้ : เล่าไว้ว่าด้วยถ้อยคำภาษาที่เพื่อน ๆ อาจหลงลืมกัน





เล่าเรื่องคำ ย่อมมีสามสิ่งเป็นอย่างน้อย มีเสียง มีความหมาย และมีอักษรแทนเสียงและความหมายอีกที


เสียงเว่า เสียงปากเว่า ก็บอกชัดว่า เป็นสิ่งที่คนเราใช้อวัยวะภายใน ตั้งแต่ส่วนในช่องท้อง มาที่ช่องคอ และที่ช่องปากตามลำดับ ทำให้เกิดเสียงเปล่งออกมา


เสียงที่คนเราเปล่งออกมาครั้งหนึ่ง เรียกว่าพยางค์ ถ้าพยางค์นั้นมีความหมายเข้าใจกันได้ด้วย ก็เรียกว่า คำ


คำ คือหน่วยภาษาที่มีความหมาย คนในสังคมเข้าใจกันได้ คำพยางค์เดียวก็มี สองพยางค์ สามพยางค์ หรืออาจมากกว่านั้นก็มี


มาถึง ความหมายของคำในภาษา ก็คือสิ่งที่คนภาษานั้น ๆ กำหนด รับรู้ร่วมกัน ตามกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน หรือไวยากรณ์ของภาษา ว่าคำนี้ มีความหมายอย่างนี้ หรือประมาณนี้นะ


เด็ก ๆ ที่เพิ่งเรียนรู้ภาษา หรือคนต่างภาษา ก็ต้องเรียนรู้ สั่งสมคำและความหมายของคำภาษาไปตามความจำเป็น ความต้องการ  เรียนมาก รู้มาก เข้าใจมาก ใช้ได้ถูกต้อง ชัดเจน คล่องแคล่วมาก ก็เก่งภาษานั้นไป


นั่นคือการเรียนภาษาพื้นฐาน หรือภาษามาตรฐานชีวิตคนเฮา  จากคำปากเว่า คือทักษะการฟัง-การพูด การสนทนา ที่อาศัยประสบการณ์ตรง แก้ไข ปรับปรุงเฉพาะหน้า ตอนที่ต้องใช้ภาษากับคนอื่น ๆ ตามวาระ ภาระ หรือธุรกิจ ธุรกรรม ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน...


ภาษาปากเว่า ฟัง เว่า โต้ตอบกัน เจรจากัน สนทนากัน บ่จำเป็นต้องเข้าโรงร่ำโรงเรียน แต่อย่างใด🤗🥰☺


ส่วนสัญลักษณ์ที่ขีดเขียนหรือพิมพ์เพื่อเห็น อ่าน ทำความเข้าใจกันแทนภาษาปากเว่า ก็คือ อักษร ที่ต่างเผ่าต่างภาษา ก็ต่างมี แตกต่างกันไป


ในฐานะคนลาวฝั่งขวาแม่น้ำโขง หรือแม่น้ำของ อักษรที่ใช้ก็เป็นอักษรไทย เพราะได้เรียนจากโรงเรียนมาแต่น้อย ส่วนอักษรธรรม และลาว ก็เพิ่งเริ่มเรียนรู้จริงจังเมื่อราวสิบกว่าปีมานี้


คำปากเว่าลาว-ไทย  คนไทย-ลาวสองฝั่งโขงที่ช่างสังเกตสักหน่อย ย่อมเข้าใจความหมายกันได้เป็นส่วนมาก ไม่ต้องมีล่ามแปล (ดีจังเลย)


สำหรับอักษรไทย สำหรับคนลาวหลายคนคงพออ่านออก รู้ความหมาย ถึงขั้นใช้เป็น อย่างยูทูบเบอร์คนลาวทั้งหลาย ที่ทำปกคลิปเป็นภาษาไทย


ส่วนอักษรลาว และอักษรธรรมเล่า มีคนลาวฝั่งขวาในภาคอีสานของไทยกี่ร้อยคนนะ ที่อ่านออก บอกความหมายได้ ใช้เป็น...


ช่วยตอบหน่อยเดอ เพื่อน ๆ


-----

#คำเว่าเล่าไว้ : เล่าไว้ว่าด้วยถ้อยคำภาษาที่เพื่อน ๆ อาจหลงลืมกัน



ที่สุดของรัก

คลิก ฟังเพลงกันครับ ที่สุดของรัก  คือเห็นความงาม เป็นความจริงล้ำค่า ที่สุดของเข้าใจ คือแสงเช้าสาดต้องยอดยางนาต้นใหม่ เป็นความปรารถนาผ่องพริ้...