วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

เรื่องแต่งควรช่วยคนเราให้รื่นรมย์

 ผมไปพูดกับวัยรุ่นเรื่องการพัฒนาเรื่องสั้น-นิยายมา

มีนักเรียนวิจารณ์เรื่องสั้นเรื่องหนึ่งอย่างหัวเสีย

เขาว่า เนื้อหาสาระในเรื่องนั้นมันไม่ถูกต้อง เขารับมันไม่ได้


อารมณ์โกรธที่เขาแสดงออกผ่านเสียงพูดและกริยาท่าทางเอาจริงเอาจังอย่างนั้น

ก็พอจะอ่านสีหน้าที่อยู้ใต้หน้ากากอนามัยนั้นได้


เรื่องนี้มันติดในหัวผมมาหลายวัน

กลัวเหลือเกินว่า "เรื่องแต่ง" จะไปทำร้ายใครแบบนั้น


ผมให้เขามาหน้าชั้นเรียน  ปล่อยให้เขาพูดจนพอใจ โดยไม่ขัด 

แล้วให้ผู้แต่งเรื่องสั้นได้พูดบ้าง นักเขียนก็ยอมรับว่าข้อมูลที่บรรยายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

ในย่อหน้าที่คนอ่านพูดถึงมันไม่ครบถ้วนจริง ๆ เขายอมรับ และเขาได้แย้งด้วยว่า 

ย่อหน้าดังกล่าวมันเป็นแค่ เป็นแค่ความคิดเห็นของตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นเด็กนักเรียน 

มันก็ย่อมสมเหตุสมผลที่มันไม่สมบูรณ์ (เหมือนตัวละครที่เป็นจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด 

-อันนี้ผมว่าเสริมในใจ)


หลังจากทั้งสองพูดแล้ว ผมก็ได้ย้ำว่า เรื่องสั้นคือเรื่องแต่งนะ 

คนอ่านไม่ควรจริงจังกับมันจนเกินไป


แล้วผมจึงบอกว่า ผมชอบโครงเรื่องที่เรียบง่ายของเรื่องมากกว่าสาระข้อมูลของโรค

เรื่งราวชีวิตนักเรียนช่วงรอแม่มารับ กลับบ้าน ทานข้าว เข้าห้องนอน...


แม้ผ่านมาหลายวัน ตอนนี้ผมก็ยังรู้สึกเป็นห่วงวัยรุ่นชายคนนั้น 

แต่คิดว่า เมื่อเวลาผ่านไปเขาคงคิดได้ว่า 

"เรื่องแต่งควรทำให้คนเรารื่นรมย์ เข้าใจชีวิตในทางสร้างสรรค์ มากกว่าเคืองขุ่นขัดข้อง"





ที่สุดของรัก

คลิก ฟังเพลงกันครับ ที่สุดของรัก  คือเห็นความงาม เป็นความจริงล้ำค่า ที่สุดของเข้าใจ คือแสงเช้าสาดต้องยอดยางนาต้นใหม่ เป็นความปรารถนาผ่องพริ้...