ขั้นตอนนี้ อาจเรียกง่ายๆ ว่า "เพิ่มเข้า ตัดออก" ครับ เป็นหลักการทั่วไปของการทำงานศิลปะ ที่ทางหอมได้ยินได้ฟังมา
ตอนผมเขียน ข่อหล่อเพื่อนกัน นั้น หลังตะลุยเขียนจบทั้ง 10 บท จำไม่ผิด บางบทเขียนจบแล้วอ่านแก้ไขเลย หลายบททิ้งไว้หลายวัน ค่อยอ่านแล้วแก้ไข
การแก้ไข ข่อหล่อเพื่อนกัน ผมเน้นดูความถูกต้องของข้อมูลชุดเกี่ยวกับสาระของหนังสือดีที่เยาวชนควรได้รู้จัก เผื่อได้มีโอกาสขวนขวายมาอ่านกัน โดยตรวจสอบชื่อนวนิยาย ชื่อผู้แต่ง ชื่อผู้แปลของหนังสือทั้ง 10 เล่ม ที่นำมาแทรกในเนื้อหาแต่ละบทๆ ละเล่ม
ทีนี้ มาดูเนื้อหาที่ผมเพิ่มเข้าไปกัน ผมเพิ่มเนื้อหา 2 อย่าง หนึ่ง ตรงที่พรรณนาฉากให้สมจริง เพิ่มคำเข้าไป ให้ใกล้เคียงกับที่จินตนาการไว้ ให้ได้มากที่สุด ขยายประโยคด้วยความเปรียบให้ผู้อ่านจินตนาการตามได้ บางแห่งเพิ่มเป็นย่อหน้าก็มี และสอง ตรงที่บรรยายตัวละคร เพิ่มคำ เพิ่มวลี บางแห่งก็เพิ่มเป็นประโยคเลยทีเดียว เพราะต้องการให้ตัวละครมีมิติ มีมุมกว้าง มีส่วนลึก มีบุคลิก มีเอกลักษณ์ สื่อถึงตัวตนเฉพาะให้ตัวละครมีที่มา มีพื้นปูมความคิดอ่านด้วย
ส่วนเนื้อหาที่ตัดออก ไม่มีเป็นชุดเนื้อหา เหมือนที่เพิ่มเข้าครับ เพราะ ข่อหล่อเพื่อนกัน แต่งเป็นบทสั้นๆ แต่จะว่าไม่มีเลยก็ไม่เชิง การตัดคำที่ไม่ทำงานหรือไม่ตรงตามที่คิดออกจากประโยคนั้น ๆ อาจเป็นส่วนสำคัญสำหรับการพัฒนาต้นฉบับข่อหล่อเพื่อนกัน
ผมว่านะ ผู้อ่านลองกลับไปอ่านดูอีกที ว่าใช่ ไม่ใช่ 55
นี่เป็นเพียงตัวอย่าง การเพิ่มเข้า การตัดออก ในการแต่งนวนิยาย อันเป็นบทเรียนจาก ข่อหล่อเพื่อนกัน ที่ ทางหอม อยากบอกต่อ
เป็นไงบ้างครับ ลงมือเขียนนวนิยายกันไปถึงไหนแล้ว เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
ไว้พบกันในโพสต์หน้าครับ บ๊าย...