ดูลมหายใจให้ดี ๆ
คำเว่าว่าโดย บาวทิ ยางชุมน้อย
การใช้ชีวิตเพื่อเอาตัวรอดประจำวันที่บ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใดก็ตาม เราจำเป็นต้องสำรวจตรวจสอบความพร้อมของร่างกาย ชุดเครื่องแต่งกาย ข้าวของ อุปกรณ์เครื่องใช้ เงินทอง รวมถึงเพื่อนร่วมเดินทาง เพื่อร่วมงาน นั่นอาจทำให้เราลืมสำรวจตรวจสอบจิตใจตนเอง
จิตใจของเราเป็นอย่างไร สุขภาพดีไหม มีปัญหาอะไรบ้าง ต้องฟื้นฟูปรับแก้เช่นไร จึงจะเหมาะสมแก่กาล จำเป็นต้องมีเครื่อมือสำรวจตรวจสอบที่ดี ที่เรามั่นใจ และจะดีที่สุดคือทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเสียงเวลา เสียเงินทองโดยไม่จำเป็น
ในที่นี้ ขอเสนอวิธีการง่าย ๆ เครื่องมือธรรมดา ๆ อย่าง ศิษย์ตถาคต นั่นคือ การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน
แต่ก่อนจะคุยกันว่าวิธีการและเครื่องมือนั้นต้องทำอย่างไรกัน เรามาคุญกันเกี่ยวกับการเขียนอ่านอักษรธรรมกันก่อน
เช่นเคย ขอใช้อักษรอังกฤษในแบบภาษาคาราโอเกะแทนอักษรธรรม เพื่ออธิบายการสะกดคำ ดังนี้
(โปรดดูภาพประกอบ)
BERNG อาจเขียนอักษรไทยเป็น เบิ่ง เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้เก - บ - ไม้กิ - ง(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
LOM อาจเขียนอักษรไทยเป็น ลม เขียนอักษรธรรมได้โดย ล - ไม้ก่ม(บนตัว ล) - ม(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง กระแสอากาศที่ไหลเวียนพัดไปมา
นั่นคือเครื่องมือและวิธีการที่บอกเป็นกลาง ๆ
ทีนี้บางคนว่า จะทำในท่าทางอย่างไร ต้องนั่งในท่าขัดสมาธิไหม ต้องเดิน ยืนหรือเปล่า และจะฝึกเวลาใดจึงจะเหมาะจะควร
คำถามนี้ ขอตอบเป็น 2 แบบคือ
แบบ 1 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบจริงจัง แบบนี้ควรใช้เวลาก่อนนอน หรือตื่นนอนใหม่ๆ หรือเวลาที่กำหนดสำหรับการฝึกสมาธิโดยเฉพาะ แบบนี้ให้ฝึกในท่านั่งสมาธิ คือฝึกทำสมาธิโดยใช้วิธีสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจจริง ๆ จัง ๆ กันเลย ซึ่งอาจง่ายอาจเหมาะสำหรับบางคนที่สนใจฝึกสมาธิอยู่แล้ว แต่อาจยากสำหรับคนที่ไม่ถนัด ไม่ชอบ ไม่คุ้นเคย
อ้าว! คนไม่มีเวลา ไม่อยากทำแบบจริงจังนี้ล่ะ จะทำได้ไหม งั้นมาดูแบบที่สองกัน เผื่อเป็นทางเลือก
แบบ 2 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบนี้ทำได้ทุกเมื่อที่เราโกรธ เราเกลียดสิ่งใดๆ เราข้องขัดในอารมณ์ เราเครียดเราหม่นหมอง เศร้าซึม เราเกิดปัญหาที่คิดไม่ออก หาทางแก้ไม่ได้ เมื่อเราประสบปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา ขอให้เราตั้งสติสักนิด หลับตาลงก็ได้ อาจปลีกตัวไปในห้อง ในมุมสงบ หรือหากปลีกไปไม่ได้ ก็ฝึกทำสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจในที่นั้นๆ เลย แบบนี้ผมชอบใช้ ดูที่บริเวณปลายจมูกนั่นแหละ เช่นเรากำลังโกรธจัด ตั้งสติดูลมหายใจเข้าไป ดูมันเข้ามันออกจะรู้ว่ามันเข้าออกสั้น ห้วน ไม่เป็นจังหวะ ดูมัน รู้จักมัน แล้วค่อย ๆ ปรับสูดลมหายใจเข้ายาว ๆ ออกยาว ๆ ให้สม่ำเสมอ อาจนับรอบเข้า-ออก หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...จนถึงสิบ หรือจนเราพอใจ จนเราหายโกรธ หายจากอารมณ์ร้ายๆ เหล่านั้น หรือเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์กลับมาเป็นปกติแล้วก็ค่อยเลิกทำ แบบนี้มีประโยชน์และไม่เสียเวลามาก และไม่ยุ่งยาก ไม่เปลืองเวลาสถานที่ ไม่รบกวนใคร เราทำฝึกการข้างใน ไม่มีใครเห็นใครรู้ แม้คนที่อยู่ตรงหน้าเรา
จิตใจของเราเป็นอย่างไร สุขภาพดีไหม มีปัญหาอะไรบ้าง ต้องฟื้นฟูปรับแก้เช่นไร จึงจะเหมาะสมแก่กาล จำเป็นต้องมีเครื่อมือสำรวจตรวจสอบที่ดี ที่เรามั่นใจ และจะดีที่สุดคือทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเสียงเวลา เสียเงินทองโดยไม่จำเป็น
ในที่นี้ ขอเสนอวิธีการง่าย ๆ เครื่องมือธรรมดา ๆ อย่าง ศิษย์ตถาคต นั่นคือ การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน
แต่ก่อนจะคุยกันว่าวิธีการและเครื่องมือนั้นต้องทำอย่างไรกัน เรามาคุญกันเกี่ยวกับการเขียนอ่านอักษรธรรมกันก่อน
เช่นเคย ขอใช้อักษรอังกฤษในแบบภาษาคาราโอเกะแทนอักษรธรรม เพื่ออธิบายการสะกดคำ ดังนี้
(โปรดดูภาพประกอบ)
BERNG อาจเขียนอักษรไทยเป็น เบิ่ง เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้เก - บ - ไม้กิ - ง(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
LOM อาจเขียนอักษรไทยเป็น ลม เขียนอักษรธรรมได้โดย ล - ไม้ก่ม(บนตัว ล) - ม(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง กระแสอากาศที่ไหลเวียนพัดไปมา
HUN อาจเขียนอักษรไทยเป็น หัน เขียนอักษรธรรมได้โดย ห - ไม้ซัด - น(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง หาย การสูดรับอากาศและระบายออกมาทางจมูก
ในที่นี้หมายถึง หาย การสูดรับอากาศและระบายออกมาทางจมูก
JAI อาจเขียนอักษรไทยเป็น ใจ เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้ไก - จ
ในที่นี้หมายถึง ใจ จิตใจ
ในที่นี้หมายถึง ใจ จิตใจ
HAI อาจเขียนอักษรไทยเป็น เบิ่ง เขียนอักษรธรรมได้โดย ไม้เก - บ - ไม้กิ - ง(เฟื้อง-ห้อย)
ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
ในที่นี้หมายถึง การเฝ้ามอง การพิจารณา การสำรวจตรวจสอบ
DEE อาจเขียนอักษรไทยเป็น ดี เขียนอักษรธรรมได้โดย ด - ไม้กี
ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตนและคนอื่นๆ
ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตนและคนอื่นๆ
DEE ดี ตัวที่สอง ใช้ไม้สองหน่ำ หรือเลข 2 ตัวธรรม จะเหมือนกับไม้ยมกในอักษรไทย ใช้เขียนเพื่อ
อ่านคำหน้าซ้่ำอีกครั้ง
เป็นอย่างไรบ้างครับ การสะกดคำแบบอักษรธรรม ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ คนไทยคนลาวน่าจะเขียน(พิมพ์)อ่านได้ไม่ยาก
กลับมาที่เนื้อหา การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน กัน
เครื่องมือในการนี้มี ลมหายใจ สมาธิ และสติ เป็นเครื่องมือภายใน ที่ทุกคนมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ส่วนวิธีการสำรวจตรวจสอบลมหายใจให้ดี ๆ ก็คือ
1.ใช้สมาธิจดจ่อที่ลมหายใจของตนเอง อาจใช้วิธีตามลมเข้าไป ตามลมออกมา หรือใช้วิธีเพ่งแค่ตรงปลายจมูกก็ได้
2.พร้อมกันนี้ก็ให้ใช้สติเพ่งรู้อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ลมหายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ ลมหายใจร้อนรู้ ลมเย็นก็รู้ ลมหายใจราบเรียบสม่ำเสมอก็รู้ สั่นไหวติดขัดขาดเป็นห้วงเป็นตอนก็รู้ เป็นการกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียว รู้แค่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น ปิดอดีต ปิดอนาคต ไม่สนใจความคิด
ขณะสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจ จะหลับตา หรือลืมตา ก็ตามแต่สะดวก
อ่านคำหน้าซ้่ำอีกครั้ง
เป็นอย่างไรบ้างครับ การสะกดคำแบบอักษรธรรม ไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมครับ คนไทยคนลาวน่าจะเขียน(พิมพ์)อ่านได้ไม่ยาก
กลับมาที่เนื้อหา การสำรวจตรวจดูลมหายใจของตน กัน
เครื่องมือในการนี้มี ลมหายใจ สมาธิ และสติ เป็นเครื่องมือภายใน ที่ทุกคนมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ส่วนวิธีการสำรวจตรวจสอบลมหายใจให้ดี ๆ ก็คือ
1.ใช้สมาธิจดจ่อที่ลมหายใจของตนเอง อาจใช้วิธีตามลมเข้าไป ตามลมออกมา หรือใช้วิธีเพ่งแค่ตรงปลายจมูกก็ได้
2.พร้อมกันนี้ก็ให้ใช้สติเพ่งรู้อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ลมหายใจสั้นก็รู้ ยาวก็รู้ ลมหายใจร้อนรู้ ลมเย็นก็รู้ ลมหายใจราบเรียบสม่ำเสมอก็รู้ สั่นไหวติดขัดขาดเป็นห้วงเป็นตอนก็รู้ เป็นการกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียว รู้แค่ในขณะปัจจุบันเท่านั้น ปิดอดีต ปิดอนาคต ไม่สนใจความคิด
ขณะสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจ จะหลับตา หรือลืมตา ก็ตามแต่สะดวก
นั่นคือเครื่องมือและวิธีการที่บอกเป็นกลาง ๆ
ทีนี้บางคนว่า จะทำในท่าทางอย่างไร ต้องนั่งในท่าขัดสมาธิไหม ต้องเดิน ยืนหรือเปล่า และจะฝึกเวลาใดจึงจะเหมาะจะควร
คำถามนี้ ขอตอบเป็น 2 แบบคือ
แบบ 1 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบจริงจัง แบบนี้ควรใช้เวลาก่อนนอน หรือตื่นนอนใหม่ๆ หรือเวลาที่กำหนดสำหรับการฝึกสมาธิโดยเฉพาะ แบบนี้ให้ฝึกในท่านั่งสมาธิ คือฝึกทำสมาธิโดยใช้วิธีสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจจริง ๆ จัง ๆ กันเลย ซึ่งอาจง่ายอาจเหมาะสำหรับบางคนที่สนใจฝึกสมาธิอยู่แล้ว แต่อาจยากสำหรับคนที่ไม่ถนัด ไม่ชอบ ไม่คุ้นเคย
อ้าว! คนไม่มีเวลา ไม่อยากทำแบบจริงจังนี้ล่ะ จะทำได้ไหม งั้นมาดูแบบที่สองกัน เผื่อเป็นทางเลือก
แบบ 2 ขอเรียกชื่อว่า การสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แบบนี้ทำได้ทุกเมื่อที่เราโกรธ เราเกลียดสิ่งใดๆ เราข้องขัดในอารมณ์ เราเครียดเราหม่นหมอง เศร้าซึม เราเกิดปัญหาที่คิดไม่ออก หาทางแก้ไม่ได้ เมื่อเราประสบปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมา ขอให้เราตั้งสติสักนิด หลับตาลงก็ได้ อาจปลีกตัวไปในห้อง ในมุมสงบ หรือหากปลีกไปไม่ได้ ก็ฝึกทำสำรวจตรวจสอบดูลมหายใจในที่นั้นๆ เลย แบบนี้ผมชอบใช้ ดูที่บริเวณปลายจมูกนั่นแหละ เช่นเรากำลังโกรธจัด ตั้งสติดูลมหายใจเข้าไป ดูมันเข้ามันออกจะรู้ว่ามันเข้าออกสั้น ห้วน ไม่เป็นจังหวะ ดูมัน รู้จักมัน แล้วค่อย ๆ ปรับสูดลมหายใจเข้ายาว ๆ ออกยาว ๆ ให้สม่ำเสมอ อาจนับรอบเข้า-ออก หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า...จนถึงสิบ หรือจนเราพอใจ จนเราหายโกรธ หายจากอารมณ์ร้ายๆ เหล่านั้น หรือเมื่อเรารู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์กลับมาเป็นปกติแล้วก็ค่อยเลิกทำ แบบนี้มีประโยชน์และไม่เสียเวลามาก และไม่ยุ่งยาก ไม่เปลืองเวลาสถานที่ ไม่รบกวนใคร เราทำฝึกการข้างใน ไม่มีใครเห็นใครรู้ แม้คนที่อยู่ตรงหน้าเรา
ครับ ที่เล่ามา ในนามกัลยาณมิตร เล่าแบบที่ตนเคยรู้ เคยฝึกมาบ้าง อาจไม่ต้องตำราครูอาจารย์ท่านใด หรือต้องตรงพระไตรปิฎกเป๊ะ ๆ ก็อย่าว่ากันเน้อ
พบกันใหม่ใน อักษรส่องใจ ครั้งหน้า คิดได้ไปเป็น ๆ ครับ.
พบกันใหม่ใน อักษรส่องใจ ครั้งหน้า คิดได้ไปเป็น ๆ ครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น