ก. คำสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับงานเขียน
๐. องค์ประกอบพื้นฐานของงานเขียน ได้แก่ รูปแบบ เนื้อหา และภาษา
รูปแบบ หมายถึง ลักษณะองค์รวมของงานเขียนที่ถูกกำหนด
ขึ้นและนักเขียนต่างยอมรับกัน
เนื้อหา หมายถึง เรื่องราว-สาระ-แนวคิดที่นักเขียนนำเสนอไว้
ภาษา หมายถึง ถ้อยคำ สำนวน โวหาร ที่นักเขียนใช้ประกอบสร้างรูปแบบและแสดงเนื้อหา
๑. วรรณคดี และวรรณกรรม
วรรณคดี หมายถึง งานเขียนที่ดีเยี่ยมทั้งรูปแบบ เนื้อหา และภาษา (ไทย = เรื่องเก่า รูปแบบร้อยกรอง เนื้อหาตามอินเดีย-ตำนาน ภาษาดี / เทศ = เรื่องร่วมสมัย รูปแบบร้อยแก้ว เนื้อหามนุษย์ร่วมสมัย ภาษาดี)
วรรณกรรม หมายถึง ๑ งานเขียนทุกชนิด ทุกประเภท รวมถึงงานวิชาการด้วย ๒ งานเขียนประเภทเรื่องแต่งที่ดีทั้งรูปแบบ เนื้อหา และภาษา
๒. ร้อยกรอง และร้อยแก้ว
ร้อยกรอง หมายถึง งานเขียนที่กำหนดรูปแบบตายตัว มีคณะและสัมผัสบังคับชัดเจน
ร้อยแก้ว หมายถึง งานเขียนที่ใช้ถ้อยคำเหมือนภาษาพูดทั่วไป
๓. วรรณกรรมเยาวชน นิยาย และนวนิยาย
วรรณกรรมเยาวชน หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นสำหรับให้เยาวชนอ่าน ส่วนมากจะเป็นเรื่องยาวร้อยแก้ว
นิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิด เนื้อหาซ้ำๆ ที่ไม่สมจริงมากนัก แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาซ้ำๆ ค่อนไปทางเยิ่นเย้อ ไม่สละสลวยนัก
นวนิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เนื้อหาอาจแปลกใหม่แต่สมจริงด้วยสัมพันธบทขององค์ประกอบของเรื่อง แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาที่สร้างสรรค์
๔. สารคดี และบันเทิงคดี
สารคดี หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้แต่ง หรือเรื่องที่ผู้แต่งมีประสบการณ์ร่วม นำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนคิดแต่งขึ้นจากจินตนาการ และความคิดอ่านสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงและซาบซึ้งในความงามของความคิดและภาษาไปพร้อมกัน อาจใช้รูปแบบวรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร หรือกวีนิพนธ์ ก็ได้
๕. เรื่องเล่า และเรื่องแต่ง
เรื่องเล่า หมายถึง งานเขียนที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
เรื่องแต่ง หมายถึง งานเขียนที่คิดเขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือดัดแปลงจากเรื่องจริง
๖. นิทาน และเรื่องสั้น
นิทาน หมายถึง เรื่องแต่งขนาดสั้นที่เน้นให้คติสอนใจ อาจเหมือนหรือเหนือจริงก็ได้
เรื่องสั้น หมายถึง เรื่องแต่งที่เน้นแนวคิดสำคัญ (แก่นเรื่อง) เดียว ใช้องค์ประกอบของบันเทิงคดีร้อยแก้ว มีตัวละคร ๑-๕ ตัว ความยาวที่สามารถอ่านจบภายใน ๕ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง (ใช้เกณฑ์คนอ่านหนังสือเร็วปกติ) สำนวนภาษาซ้ำๆ ค่อนไปทางเยิ่นเย้อ ไม่สละสลวยนัก
นวนิยาย หมายถึง เรื่องแต่งขนาดยาวประเภทบันเทิงคดีร้อยแก้ว ที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ เนื้อหาอาจแปลกใหม่แต่สมจริงด้วยสัมพันธบทขององค์ประกอบของเรื่อง แสดงผ่านมุมมอง กลวิธีการเขียน และสำนวนภาษาที่สร้างสรรค์
๔. สารคดี และบันเทิงคดี
สารคดี หมายถึง งานเขียนที่นำเสนอเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผู้แต่ง หรือเรื่องที่ผู้แต่งมีประสบการณ์ร่วม นำเสนอผ่านรูปแบบเรื่องเล่า ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
บันเทิงคดี หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนคิดแต่งขึ้นจากจินตนาการ และความคิดอ่านสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงและซาบซึ้งในความงามของความคิดและภาษาไปพร้อมกัน อาจใช้รูปแบบวรรณกรรมเยาวชน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร หรือกวีนิพนธ์ ก็ได้
๕. เรื่องเล่า และเรื่องแต่ง
เรื่องเล่า หมายถึง งานเขียนที่เขียนขึ้นจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต
เรื่องแต่ง หมายถึง งานเขียนที่คิดเขียนขึ้นจากจินตนาการ หรือดัดแปลงจากเรื่องจริง
๖. นิทาน และเรื่องสั้น
นิทาน หมายถึง เรื่องแต่งขนาดสั้นที่เน้นให้คติสอนใจ อาจเหมือนหรือเหนือจริงก็ได้
เรื่องสั้น หมายถึง เรื่องแต่งที่เน้นแนวคิดสำคัญ (แก่นเรื่อง) เดียว ใช้องค์ประกอบของบันเทิงคดีร้อยแก้ว มีตัวละคร ๑-๕ ตัว ความยาวที่สามารถอ่านจบภายใน ๕ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง (ใช้เกณฑ์คนอ่านหนังสือเร็วปกติ)
๑. ชื่อเรื่อง คือ คำ/วลี/ข้อความ ที่ใช้เรียกแทนตัวบทงานเขียนนั้นๆ
๒. แก่นเรื่อง คือ แนวคิดสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนซ่อนไว้และนักอ่านสังเคราะห์ได้
๓. โครงเรื่อง คือ กรอบหรือวงจรของเรื่องราว
๔. ตัวละคร คือ ผู้แสดงในเรื่องราวนั้นๆ
๕. บทสนทนา คือ คำพูดคุยของตัวละคร
๖. ฉาก คือ ส่วนที่สร้างบรรยายให้เรื่องราว ประกอบด้วย สถานที่ วันเวลา สภาพแวดล้อม สถานการณ์ ฯ
๗. กลวิธีการเล่าเรื่อง
๗.๑ มุมมอง (ผู้เล่าเรื่อง) และน้ำเสียง
๑) มุมมอง
(๑) มุมมองจากสายตาพระเจ้า/นก
มุมมองจากสายตาผู้อยู่เบื้องบนที่รู้เห็นเรื่องราวทั้งหมด ไม่ใช้สรรพนามแทนผู้เล่าเรื่อง และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละคร
(๒) มุมมองจากสายตาคน
(๒.๑) มุมมองจากสายตาผู้สังเกตการณ์ ไม่มีส่วนร่วมในเรื่อง อาจไม่ใช้สรรพนามแทนผู้เล่าเรื่อง หรือใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทน ผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละคร
(๒.๒) มุมมองจากสายตาตัวละครเอก ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละครอื่น
(๒.๓) มุมมองจากสายตาตัวละครรองหรือตัวละครประกอบ ใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนผู้เล่าเรื่อง เช่น ผม ฉัน ข้าพเจ้า… และใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนตัวละครอื่น
๒) น้ำเสียง หมายถึง แนวโน้มของความรู้สึกจากมุมมองของผู้เล่าเรื่องต่อเรื่องที่เล่า ว่าเรื่องเป็นไปอย่างไร อาจมีน้ำเสียงเป็นบวกเชิงชื่นชม ยกย่อง ยินดี สนับสนุน ฯ หรือมีน้ำเสียง เป็นลบเชิงซ้ำเติม เยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี เสียดเย้ย ฯ หรือมีน้ำเสียงเป็นกลางๆ
๗.๒ การลำดับเรื่อง
๑) ลำดับเรื่องตามปฏิทิน
๒) ลำดับเรื่องแบบย้อนกลับ
๓) ลำดับเรื่องแบบสลับไปมา
๗.๓ การเปิด-ปิดเรื่อง
ใช้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งเปิด-ปิดเรื่อง เช่น บรรยายตัวละคร บรรยายฉาก บรรยายแก่นเรื่อง หรือ ใช้บทสนทนา …
ค. คุณสมบัติของคนเขียนเรื่องสั้น
คุณสมบัติ ๔ มี ที่คนต้องการจะเขียนเรื่องสั้นพึงแสวงหาและควรรักษาไว้
มีเรื่องสั้น เคยอ่าน ผ่านทางคิด
มีชีวิต ลิขิตปอง ครรลองขวัญ
มีใจเพียร เขียนจบ องค์ครบครัน
มีมิตรแนะ แก้กลั่น บรรณาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น